นักวิจัยสร้างถาดบรรจุภัณฑ์ เตือนเชื้อปนเปื้อน

นักวิจัยสร้างถาดบรรจุภัณฑ์ เตือนเชื้อปนเปื้อน

นักวิจัย

การปกป้องผู้บริโภคจากอาหารที่ปนเปื้อนจะทำให้ประหยัดเงินค่ารักษาพยาบาลได้มาก ทั่วโลกมีผู้เจ็บป่วยที่เกิดจากอาหารประมาณ 600 ล้านรายต่อปี สาเหตุหลักมาจากการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อโรค สิ่งเหล่านี้ทำให้นัก วิจัยพยายามคิดค้นวิธีรับมือ โดยเฉพาะการพัฒนาระบบที่เชื่อถือได้ รวดเร็ว ราคาไม่แพง ใช้งานง่าย ซึ่งหากแยกการปนเปื้อนได้เร็ว ก็จะช่วยลดการติดเชื้อที่อาจร้ายแรง

ล่าสุดนัก วิจัยจากมหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์ในแคนาดา เผยว่าได้สร้างถาดบรรจุภัณฑ์แบบใหม่ที่สามารถส่งสัญญาณบอกเมื่อมีเชื้อโรคอันตราย เช่น เชื้อซาลโมเนลลา (Salmonella) อยู่ในบรรจุภัณฑ์ของอาหารดิบหรืออาหารปรุงสุก เช่น ไก่ ซึ่งถาดบรรจุภัณฑ์ต้นแบบมีรูปร่างเหมือนเรือท้องแบน เรียงรายไปด้วยสารทำปฏิกิริยาที่ปลอดภัยต่ออาหาร ช่วยให้เซ็นเซอร์ในตัวถาดทำการตรวจจับและส่งสัญญาณการมีอยู่ของเชื้อโรคอย่างเชื้อซาลโมเนลลาได้ และผู้ใช้งานสามารถสแกนด้านล่างของบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิทด้วยโทรศัพท์มือถือโดยไม่จำเป็นต้องทำงานในห้องทดลองเพิ่มเติม จากนั้นก็จะรู้ได้ทันทีว่าอาหารนั้นปนเปื้อนหรือไม่ นอกจากนี้ เทคโนโลยีดังกล่าวยังสามารถนำไปปรับใช้เพื่อทดสอบเชื้อโรคที่ปนเปื้อนที่เกิดจากอาหารทั่วไป เช่น เชื้ออี.โคไล (E. coli) และเชื้อลิสทีเรีย (Listeria) ได้อย่างง่ายดายเช่นกัน

นัก วิจัยเผยว่า เทคโนโลยีใหม่นี้จะช่วยให้ผู้ผลิต ผู้ค้าปลีก ผู้บริโภค รู้ได้ทันทีแบบเรียลไทม์ว่าเนื้อสัตว์ในบรรจุภัณฑ์อาหารที่ปิดสนิทมีเชื้อโรคปนเปื้อนหรือไม่ โดยไม่ต้องเปิดออกมาตรวจ จะช่วยป้องกันการสัมผัสกับเชื้อโรค ในขณะเดียวกันก็ลดความซับซ้อนของกระบวนการตรวจสอบในห้องปฏิบัติการที่ยุ่งยากและมีราคาแพง.